บุญบั้งไฟ

ไฟ

การจัดงานบุญบั้งไฟ ได้มีการเล่าขานกันมานาน โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าทีคอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ บุญบั้งไฟ นับเป็นประเพณีความเชื่อที่สำคัญในคนอีสาน นิยมทำกันในเดือน ๖ ของทุกปี โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ ได้แก่ จุดมุ่งหมายในการขอฝน ชาวบ้านในภาคอีสาน ถือว่าบุญบั้งไฟเป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญมาก เพราะเชื่อว่าหากหมู่บ้านใดไม่จัดงานบั้งไฟก็อาจก่อให้เกิด ภัยพิบัติ เช่น โรคภัยไข้เจ็บ หรือทุพภิกขภัยแก่ชุมชนได้ ในขณะที่ช่วงจัดงานนี้เป็นช่วงที่ ชาวบ้านมีงานต้องทำมาก เนื่องจากเป็นฤดู ของการทำนาปี ฉะนั้นที่ประชุม ผู้ใหญ่บ้าน จึงต้องปรึกษาหารือกัน เพื่อตัดสินใจว่าจะจัดหรือไม่ในปีนั้น หากตัดสินใจว่าจะไม่จัดแล้ว ก็จำเป็นต้องไปทำพิธีที่ศาลปู่ตาของบ้าน เพื่อขออนุญาตเลื่อนงานบุญนี้ไปในปีหน้า การจัดงานและการละเล่นในประเพณีบุญบั้งไฟ ในวันสุกดิบชาวบ้านจะจัดขบวนแห่บั้งไฟยังศาลปู่ตาของหมู่บ้าน ทำพิธีเซ่นสรวง มีการจุดบั้งไฟที่ใช้ในการเสี่ยงทาย เพื่อเสี่ยงทายดูความอุดมสมบูรณ์และความสำเร็จในการทำนาปีนั้น จากนั้นก็พากันกินเหล้าฟ้อนรำ รอบศาลปู่ตาเป็นที่สนุกสนาน จากนั้นก็พากันแห่บั้งไฟไปยังสถานที่จัดงาน หรือหมู่บ้านที่จัดงานบุญบั้งไฟเพื่อจุดแข่งขันประกวด ประชันกันต่อไป ในปัจจุบันบั้งไฟที่ใช้จุดแข่งขัน มีหลากหลายที่นิยมเรียกกัน ได้แก่บั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน บั้งไฟล้าน ซึ่งมีขนาดของดินปืนมากน้อย แตกต่างกันไป โดยแต่เดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งแสดงออกถึงความ สามัคคีของหมู่คณะและมีความเชื่อว่าเมื่อจัดงานนี้แล้ว เทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจะดลบันดาลให้มีฝนตกต้องตามฤดูกาล ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ บั้งไฟแต่ละอันที่มาเข้าขบวน แห่ จะถูกตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามด้วยลวดลายไทยสีทอง ว่ากันว่าศิลปะการตกแต่งบั้งไฟนี้ นายช่างจะต้อง สับและตัดลวดลายต่าง ๆ นี้ไว้เป็นเวลาแรมเดือนแล้วจึงนำมาทากาวติดกับลูกบั้งไฟ ส่วนหัวบั้งไฟนั้นจะทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ ส่วนมากนิยมทำเป็นรูปหัวพญานาคอ้าปากแลบลิ้นพ่นน้ำได้ บ้างก็ทำเป็นรูปอื่น ๆ แต่ก็มีความหมายเข้ากับตำนานในการขอ ฝนทั้งสิ้น ตั้วบั้งไปนั้นจะนำไปตั้งบนฐาน ใช้รถหรือเกวียนเป็นพาหนะนำมาเดินแห่ตามประเพณีครับ บั้งไฟที่จัดทำมีหลายขนาดคือ มีทั้งบั้งไฟกิโล บั้งไฟหมื่น และบั้งไฟแสน บั้งไฟกิโลนั้นหมายถึง น้ำหนักของดินประสิว ๑ กิโลกรัม บั้งไปหมื่นก็ใช้ดินประสิว ๑๒ กิโลกรัม บั้งไปแสนก็ใช้ดินประสิว ๑๐ หมื่น หรือ ๑๒๐ กิโลกรัม เมื่อตกลงกันว่าจะทำ บั้งไฟขนาดไหนก็หาช่างมาทำหรือที่มีฝีมือก็ทำกันเอง ช่างที่ทำบั้งไฟนั้นสำคัญมาก ช่างจะต้องเป็นผู้ที่มีฝีมือในการคำนวณ ดินประสิวกับถ่านไม้ เพราะถ้าไม่ถูกสูตรบั้งไฟก็จะแตก คือไม่ขึ้นสู่ท้องฟ้า สำหรับไม้ที่จะทำเป็นเสาบั้งไฟนั้น ต้องเป็นไม้ไผ่ ที่มีลำปล้องตรงกันเสมอกัน จะตัดเอาแต่ที่โคนต้น เพราะมีความหนาและเหนียว ความยาวนั้นแล้วแต่จะตกลงกัน สำหรับขบวนเซิ้งบั้งไฟนั้น มีความยาวหลายกิโลเมตรครับ ในวันรุ่งขึ้นเป็นการจุดบั้งไฟ จะมีการแบกบั้งไฟไปยังฐานยิงในที่โล่ง ถ้าบั้งไฟของใครจุดแล้วยิงไม่ขึ้น คนทำจะถูกจับโยนลงในโคลน ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมา บ้านเด่นวัว มีผู้คนที่อพยพมาจากภาคอิสานอยู่อย่างหนาแน่น ซึ่งได้นำประเพณีบุญบั้งไฟอันเป็นประเพณีดั้งเดิมจากบรรพบุรุษมาด้วย ทั้งนี้มีการประกอบพิธีเป็นประจำทุก ๆ ปี โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรอื่น ๆ อย่างมากมายอีกด้วย